เอ็กซีเอ็มจี แมชชินเนอรี่ (XCMG Machinery) (SHE : 000425) ได้เสร็จสิ้นการติดตั้งกังหันลมของโครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำพลังงานลมลอยน้ำนอกชายฝั่งแห่งแรกของโลก บนเกาะหนานรี ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองผูเถียน มณฑลฝูเจี้ยน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จครั้งใหม่ของเอ็กซีเอ็มจีในการยกระดับการบูรณาการ และนวัตกรรมของอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน
โครงการนี้ใช้แท่นลอยน้ำแบบกึ่งใต้น้ำ (semi-submersible)
ใช้ 3 เสา แต่ละเสาติดตั้งกังหันลมนอกชายฝั่งปริมาณ 4 เมกะวัตต์ และโมดูลแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่น้ำหนักเบามีความยืดหยุ่น โซนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรูปทรงหกเหลี่ยมตรงกลางแท่นจะทำฟาร์มปลาและผลิตภัณฑ์อาหารทะเลพร้อมทั้งผลิตพลังงานสะอาด เมื่อสร้างเสร็จโครงการจะผลิตไฟฟ้าได้ถึง 16 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนโดยเฉลี่ยมากกว่า 6,000 ครัวเรือนในหนึ่งปี
แท่นดังกล่าวประกอบด้วยกังหันลมลอยน้ำและกรงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รถเครนตีนตะขาบรุ่น XGC28000 ของเอ็กซีเอ็มจี ได้ติดตั้งกังหันลมปริมาณ 4 เมกะวัตต์ เสาที่ติดตั้งกังหันลมมีความกว้างมาก จึงต้องใช้อุปกรณ์ยกทำงานที่ท่าเรือ ซึ่งเป็นความท้าทายสำหรับรถเครนตีนตะขาบ เพราะต้องมีระยะยกสูงสุด และกำลังในการยกที่ยอดเยี่ยมภายใต้รัศมีการทำงานที่กว้าง
รถเครนตีนตะขาบรุ่น XGC28000
มีกำลังยกสูงสุด 2,000 ตัน โดยยกแขนบูมหลักยาว 126 เมตร จับคู่ทาวเวอร์ทูบขนาด 226 ตันและ 102 ตันก่อน จากนั้นจึงประกอบห้องเครื่องยนต์ขนาด 193 ตัน ที่มีรัศมีการทำงาน 42 เมตร ก่อนที่จะยกใบพัดสามใบเข้าเชื่อมต่อกับดุมใบพัดด้วยความแม่นยำ
ผู้จัดการโครงการจากต้าเหลียน ซินเซียง (Dalian Xinxiang) ซึ่งเป็นฝ่ายก่อสร้างของโครงการ กล่าวว่า “ระบบขับเคลื่อนแขนบูมแบบติดตั้งน้ำหนักถ่วงที่ให้ความสามารถในการยกที่เหนือชั้นของรถเครนตีนตะขาบขนาด 2,000 ตันของเอ็กซีเอ็มจีมีประโยชน์มากในโครงการนี้ นอกจากนี้ การขนส่งยังสะดวก และช่วยให้เราประหยัดเวลาและต้นทุน”
ก่อนหน้านี้ รถเครนตีนตะขาบรุ่น XGC28000 มีผลงานการก่อสร้างหลายรายการ ในปี 2563 บริษัทประสบความสำเร็จในการติดตั้งตัวสะท้อนสัญญาณหลักของเสาอากาศรับสัญญาณประสิทธิภาพสูงที่ความสูง 70 เมตร ซึ่งเป็นโครงการของหอสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์แห่งชาติ (National Astronomical Observatory) ของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences) โดยเป็นส่วนสำคัญของการรับข้อมูลสำหรับการสำรวจดาวอังคารของจีน และเมื่อเสร็จสิ้น จะกลายเป็นตัวรับสัญญาณลำกล้องเดียวที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย
แหล่งที่มา : https://www.ryt9.com/s/anpi/3471270#google_vignette